บทที่ 10 ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Planning) ส.อ.ถนอม บริคุต ,Thanom Borikut นักศึกษาปริญญาเอก Doctor of Business Administration (DBA06) เลขที่ 16รหัส57560995 ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

1.ความเป็นมาและความหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่

แนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในปัจจุบัน สิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ความสำคัญรองลงมาจากกลุ่มลูกค้าคือ ผลิตภัณฑ์ในองค์กรซึ่งจะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ ผลิตภัณฑ์ใหม่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม หรือเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในผลิตภัณฑ์เดิม หรือเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์เดิมในตลาดใหม่ กิจการจะต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ว่าต้องการอะไร  หรือเป็นการต้องการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงอาจได้แนวคิดใหม่มาจากพ่อค้าคนกลาง  การระดมแนวคิดของหัวหน้าแผนกต่างๆในกิจการ และแนวคิดส่วนใหญ่ที่ได้มักได้มาจากปัญหา   ข้อเสนอแนะคำติชมของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภค  พบเจอในการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้นในขั้นตอนนี้กิจการควรจะได้แนวคิดหลาย ๆ แนวคิดจากแหล่งต่างๆ กัน เพื่อนำไว้กลั่นกรองเลือกเฉพาะแนวคิดที่เหมาะสมสำหรับกิจการในการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ

ความหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่

ความหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่  (New Product Planning) หมายถึงเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าบริการใด ๆ ที่ใช้สำหรับกิจการ   อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่มีแนวคิดใหม่ๆหรือมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในผลิตภัณฑ์สินค้า   หรือบริการที่มีอยู่แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการจะต้องมีผลให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าเพื่อให้เกิดความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการให้มากมากที่สุด โดยควรมีความพึงพอใจมากกว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการตัวเดิม     หรืออาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมที่นำเสนอในตลาดใหม่ๆปัจจุบันสภาพทางการตลาดมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงละสูงมากขึ้น จากความหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่   (Mccathy & Pereault, Jr. (Basic Marketing, 1991 – P.342)  จึงอาจจำแนกผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการใหม่(New Product Development)ได้ 3 ลักษณะคือ

  1.   ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ (Innovative Product)   หมายถึง  ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอในตลาดมาก่อนหรือเป็นแนวคิดใหม่ที่ผู้บริโภคอาจยังคาดไม่ถึง
              2. ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลง (Replacement Product of Modify Product) หมายถึง   เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการใหม่ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุง มาจากผลิตภัณฑ์เดิมที่ขายอยู่แล้วในตลาด  ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการ   และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้มากขึ้นกว่าเดิม
    3.  ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ  หรือ การลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ (Imitative or Me-too-Product) หมายถึง    ผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับกิจการแต่ไม่ใหม่ในท้องตลาดเกิดจากการที่กิจการเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคหรือลูกค้าเป็นหลัก    ทำให้กิจการมีโอกาสทำกำไรให้กับองค์กรหรือบริษัทสูง  จึงเสนอผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการ เพื่อเข้าสู่ท้องตลาดโดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดขององค์กรหรือบริษัท

2.องค์ประกอบ
          องค์ประกอบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นแนวคิดใหม่ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอในตลาดมาก่อน   เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการที่มีโอกาสหรือความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้าสูงในท้องตลาด  แต่มีความเสี่ยงสูงพอๆกันกับความต้องการของผู้บริโภค หรือลูกค้าเช่นกันในด้านล้มเหลวหรือไม่ประสบความสำเร็จนั่นเอง ถ้าพบว่าผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการดังกล่าวโดยมี กระบวน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development Process) กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จึงมีเครื่องมือหรือองค์ประกอบที่สำคัญ 8 องค์ประกอบดังนี้คือ

  1. การสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ (Idea generation) เป็นการสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการใหม่บริษัทจะนำมาข้อมูลนั้นเข้ามาใช้ในการคิดค้นเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ หรือออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่นั้นเอง โดยแหล่งข้อมูลในองค์กรมีการแบ่งออกเป็น 2 แหล่งด้วยกันคือ(1) แหล่งภายในองค์กร (2) แหล่งภายนอกองค์กร

            (1) แหล่งภายในองค์กร

                        พนักงานขาย (Salespersons)

ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D specialists)

ผู้บริหารระดับสูง (Top management)

            (2) แหล่งภายนอกองค์กร

ลูกค้า (customers)

สมาชิกในช่องทางการจัดจำหน่าย (channel members)

คู่แข่งขัน (competitors)

            2.การประเมินและคัดเลือกแนวความคิด (Idea screening)

            3.การพัฒนาและทดสอบแนวความคิด (Concept development and testing)          

           4. การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด (marketing strategy development)

  1. การวิเคราะห์สภาพทางธุรกิจ (business analysis)
  2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (product development)      
  3. การทดสอบตลาด (market testing)
  4. การดำเนินธุรกิจ (commercialization)

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle)

ฉะนั้นการสร้างหรือศึกษาถึงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle) เป็นการศึกษายอดขายของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการของบริษัทหรือองค์กร เรียกว่าวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle)   กำไรของผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น และลดลงตามขั้นตอนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ใหม่ 4 ขั้นตอนดังนี้คือ

1.ขั้นแนะนำ (Introduction Stage)  เป็นขั้นตอนที่เริ่มต้นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ตั้งแต่สินค้ายังไม่ได้เข้ายังท้องตลาดให้เข้าสู่ตลาดอย่างมั่นคง

            2.ขั้นเจริญเติบโต (Growth Stage) เป็นขั้นตอนที่ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการออกไปสู่ยังท้องตลาดแล้วและผู้บริโภคหรือลูกค้า เกิดการยอมรับผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการขององค์กรอย่างรวดเร็ว

            3.ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ (Maturity Stage) เป็นขั้นที่ตลาดเริ่มอิ่มตัวในผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการขององค์กรบริษัทหรือของกิจการ ขั้นตอนนี้มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายผลิตภัณฑ์สินค้าเพิ่มมากขึ้น

            4.ขั้นตกต่ำ (Decline) เป็นขั้นตอนที่ตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการเสื่อมความนิยมลดลงมาเลื่อยๆ ขั้นนี้มียอดขายของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการลดลง และกำไรลดลง กิจการหรือองค์กรต้องลดการส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดลดสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายสูง

การพัฒนาแนวคิดและการทดสอบแนวคิด
เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากกิจการสามารถคัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เลือกเพียง1 แนวคิดที่เหมาะสมที่สุด สำหรับกิจการมาทดสอบ ว่าผู้บริโภคเป้าหมายให้การยอมรับ  และมีทัศนคติต่อแนวคิดใหม่นี้อย่างไร  มีอะไรที่ควรต้องแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมก่อนทำการผลิตจริงอย่างไร  ผลิตภัณฑ์ในองค์กรซึ่งจะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ ผลิตภัณฑ์ใหม่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม หรือเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์เดิมในตลาดใหม่ ได้มีการแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์ใหม่ออกเป็น 6 ประเภท (สุรชัย นิวัติเจริญรุ่ง, 2553) คือ

            ผลิตภัณฑ์ใหม่ของโลก ( New-to-the world-product)

            สายผลิตภัณฑ์ใหม่ ( New product lines)      

            การเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าไปในสายผลิตภัณฑ์เดิม (Additions to existing product lines)

            การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์เดิม ( Improvements and revision of existing products)

            การปรับเปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Repositioning)

            การลดต้นทุน (Cost reductions)

3.การประยุกต์ใช้

           การประยุกต์ใช้โดยผู้ที่ศึกษาการส่งเสริมการขายโดยใช้สาวเชียร์เบียร์เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเกิดความสนใจในตัวสินค้าหรือ แบรนด์ เมื่อแนะนำแบรนด์เข้าสู่ยังท้องตลาด หรือส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค เพื่อสร้างจุดขายในด้านความแตกต่าง แต่ต่อมาได้มีการใช้สาวเชียร์เบียร์เหมือนกันหมดทุกยี่ห้อ จนเกิดเป็นแบบแผนที่ทำไปตามกัน ในทุกองค์กรหรือทุกบริษัททางการผลิตสินค้าเบียร์ซึ่งทำให้ต้นทุนทางด้านการตลาดเพิ่มสูงขึ้น แต่องค์หรือบริษัทเบียร์ก็ยอมรับได้เมื่อเทียบกับยอดขายที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วย        นอกจากนี้ยังสร้างความแตกต่าง ให้กับคุณค่าของ แบรนด์ได้ด้วยรูปลักษณ์ของสาวเชียร์เบียร์ และเครื่องแบบอีกทางหนึ่งด้วย

จากการศึกษาและทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นพบว่ามีผู้ศึกษาได้นำเทคนิคการประเมินวัฏจักรตลอดชีวิตผลิตภัณฑ์มาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีทั้งการทำ การปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์แยกออกเป็น      การปรับปรุงกำรออกแบบกระบวนการผลิตหรือเปลี่ยนแปลงการใช้วัตถุดิบและการปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์โดยการนำไปรีไซเคิล(ชินเทพ แซ่ลี้ 2554)

บรรณานุกรม

KOEKEMOER, L. 2004. Marketing Communications, Lansdowne, Juta and Co. Ltd.

MENDEZ, M. 2012. Sales promotions effects on brand loyalty. 3547444 D.B.A., Nova Southeastern University.

RAMANTHAN, S. & DHAR, S. K. 2013. Buy One, Get One Free: How Framing Sales Promotions Affects the Whole Shopping Basket. GfK-Marketing Intelligence Review, 5, 49-52.

ชโยดม  สามิบัติ. 2555. การตอบสนองต่อการส่งเสริมการขายของผู้ซื้อสินค้าที่ร้านลอฟท์สาขาสยามดิสคัฟเวอร์รี่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทัศนีย์วรรณ  แนบทางดี. 2554. ผลกระทบของประสิทธิภาพการส่งเสริมการขายที่มีผลต่อการดําเนินงานของธุรกิจตัวแทนประกันวินาศภัยในประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูริทัต ทองเพ็ชร. 2556. วิธีการใช้ลิงเป็นสื่อในการส่งเสริมการขายยาในชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงศกร สังข์บัวชื่น. (2550). ความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์แก้วเบียร์เก็บความเย็น. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วชิราวุธ วันชูพริ้ง. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยสู่ความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิโรบล สุขสวคนธ์. 2551. สาวเชียร์เบียร์:ปฏิบัติการส่งเสริมการขายในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม   สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรชัย นิวัติเจริญรุ่ง. (2553). กระบวนการพัฒนาและการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ กระเบื้องเซรามิคพื้นตราคอตโต้ พร้อมระบบติดตั้งสปีดเซอร์เฟส อินเตอร์ล็อค. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชินเทพ แซ่ลี้ (2554). การปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์. บัณฑิตวิทยาลัย. จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การจัดการอุตสาหกรรม.

Leave a comment