บทที่ 12 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และการดำเนินการ (Decision Support and Implements) ส.อ.ถนอม บริคุต ,Thanom Borikut นักศึกษาปริญญาเอก Doctor of Business Administration (DBA_06) เลขที่ 16_รหัส_57560995 ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

1.ประวัติความเป็นมาและความหมาย

ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินการ

            ประวัติที่สำคัญและความเป็นมา ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินการ (Decision Support System) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมนั้น ถูกใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลง และยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจในการดำเนินการปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์กรธุรกิจต่างๆ(เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)

ในประไทยมีการนำเอาระบบสนับสนุนการตัดสินใจมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่นในโรงงานผลิตกระแสไฟได้มีการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์การสูญเสียความร้อนและปัญหาในการเดินหม้อไอน้ำถ่านหินเล็กไนต์ ที่มีตัวแปรที่นำมาใช้คิดในการตัดสินใจอยู่มาก โดยผู้ควบคุมไม่สามารถควบคุมได้หมดและไม่ทันเหตุการณ์ทำให้เกิดความสูญเสียโดยไม่จำเป็น (พิพัฒน์ จวงจันดี 2545) ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกระบบควบคุมอัตโนมัติที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการการผลิตน้ำของโรงกรองน้ำไฟฟ้าแม่เมาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จังหวัดลำปาง โดยใช้การวิเคราะห์การตัดสินใจแบบเคที (Kepner Tregoe Decision Analysis)และอนุมาฯความรู้โดยการวิเคราะห์ลำดับกระบวนการ (Analytic Hierarchy Process) ประพันธ์ บุญเกิด 2548) และยังได้พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญในการช่วยพัฒนาวินิจฉัยปัญหาการชำรุดของเครื่องจักรที่เป็นเครื่องจักรที่วิกฤตที่สุดในระบบถ่านหินในโรงไฟฟ้าซึ่งมีความซับซ้อนเกินความสามารถในการวินิจฉัยของพนักงาน(อรวรรณ ตันศิริเจริญกุล 2548)

ในประเทศไทยการใช้ระบบการตัดสินใจไม่เพียงแต่ใช้อยู่ในส่วนของอุตสาหกรรมเท่านั้นแต่ยังมีการนำเอาระบบช่วยสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้ในสินเชื่อของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยทำการสร้างฐานข้อมูลลูกค้าขึ้นมา เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่ลดระยะเวลาในการพิจารณาสินเชื่อ (ธวัชชัย เหมะวรรณ 2547)  ส่วนในภาคการเกษตรได้มีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อช่วยในกระบวนการเพราะปลูกลำไย โดยทำงานผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งอนุมานความรู้จากเอกสารทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับลำไย (อุทัย เซี่ยงเจ็น 2547) และในทางการแพทย์ได้มีการทำการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์ประเภทภาวะกระดูกหักในส่วนของแขนและขา อีกทั้งยังช่วยให้คำแนะนำแนวทางของหลักการรักษาของภาวะนี้ตามตำแหน่ง(พลวรรธน์ วิทูรกลชิต 2548)(เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)

ความหมายระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินการ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินการ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยระบบหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์ หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์หรือเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบที่เชื่อมโยงกันระหว่างทรัพยากรสมองของมนุษย์ให้ทำงานร่วมกับ ความสามารถของคอมพิวเตอร์เพื่อต้องการการปรับปรุงคุณภาพของการตัดสินใจให้ได้ดีที่สุด กล่าวคือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถจัดการแก้ปัญหาต่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)  (เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)หรือเป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้างโดยผู้ที่ตัดสินใจจะต้องทำการตัดสินใจโดยใช้สติปัญญา เหตุผลประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของตนเป็นหลัก โดยจะมีขั้นตอนตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้ายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี (พัชยา บัวบาน 2555)

            การจัดการกับการสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินการ เป็นการจัดการ (Management) ทางด้านการบริหารอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้โดยใช้กระบวนการและทรัพยากร อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด การจัดการเป็นศาสตร์และศิลปะซึ่งกระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน (Planning)  การจัดองค์การ (Organizing) การสั่งการหรืออำนวยการ (Leading/Directing) และการควบคุม (Controlling) โดยการจัดการที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารจะต้องสามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ ด้านการบริหารมาประยุกต์ใช้ให้เหาะสมกับการทำงาน สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ผู้บริหารจะต้องรู้จักเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการตัดสินใจ

ระดับการจัดการ

การจัดการภายในองค์การ  โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ การจัดการระดับสูง ( Upper  lever management )  การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management)  การจัดการระดับต้น (Lower-level Management)  ซึ่งผู้บริหารแต่ละระดับมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต่างกัน

  1. การจัดการระดับสูง (Upper-level Management)
  2. การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management)
  3. การจัดการระดับต้น (Lower-level Management)

ประเภทของการตัดสินใจ

การจัดแบ่งจำแนกประเภทของกาตัดสินใจมีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกการตัดสินใจที่ลักษณะคล้ายกันให้อยู่ประเภทเดียวกันซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนา ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่องค์กรหรือหน่วยงานนั้นประสบอยู่เป็นประจำได้อย่างเหมาะสมประเภทของการตัดสินใจมี 3 ลักษณะคือ จำแนกตามจำนวนผู้ตัดสินใจ จำแนกตามโครงสร้างของปัญหา และจำแนกตามลักษณะการบริการงานในองค์กร

1.ประเภทของการตัดสินใจจำแนกตามจำนวนผู้ตัดสินใจ

            (1).การตัดสินใจส่วนบุคคล (Personal Decision)คือการตัดสินใจที่มีผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นการตัดสินใจเพียงคนเดียว แก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก หรือเป็นปัญหาที่ไม่มีเหตุกระทบต่อบุคคลอื่น นอกเหนือจากผู้ตัดสินใจควรมีประสบการณ์และความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี เพื่อประสิทธิภาพในการตัดสินใจ(ณิชชา อินใจ 2553)

(2).การตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision)คือการตัดสินใจที่ต้องอาศัยผู้ตัดสินใจหลายคน โดยอาจจะอยู่ใน ลักษณะของ “การระดมสมอง (Brainstorming)” ซึ่งเป็นการตัดสินใจทีอาศัยความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ทำการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้ลักษณะนี้จะได้มุมมองที่หลากหลายและมักได้แนวทางที่ประสิทธิภาพในการตัดสินใจ(ณิชชา อินใจ 2553)

2.ประเภทตัดสินใจแบบโครงสร้างปัญหา

            (1). การตัดสินใจแบบโครงสร้าง ( Structure Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว (programmed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เป็นการหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม หรือการเลือกกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดเมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด หรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด การตัดสินใจแบบนี้จึงมักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) หรือศาสตร์ทางด้านวิทยาการ การจัดการ (Management Science) หรือการวิจัยดำเนินงาน (Operation Research) เข้ามาใช้ โดยในบางครั้งอาจนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ร่วมด้วย  ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้าง (เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)            

            (2). การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructured Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบไม่เคยกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ( Nonprogrammed ) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจน หรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง หรือ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจล่วงหน้า เช่น การคัดเลือกผู้บริหารเข้าทำงาน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่(เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)

            (3). การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Decision) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้าง และแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐาน และการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่ง โครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่าจะมี(เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553) 

3.ประเภทการตัดสินใจจำแนกตามระบบในองค์กร

            (1)การตัดสินใจในระบบกลยุทธ์(Strategic Decision)เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงโดยเป็นการตัดสินใจในระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในองค์กรในระยะยาว (เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)

(2)การตัดสินใจเพื่อควบคุมการบริหาร(Management Control Decision) หรืออาจจะเรียกว่า “การตัดสินใจระดับเทคนิคพิธี(Tactical Decision)เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง โดยเป็นการตัดสินใจวางแผนการทำงานในอนาคตขององค์กร จึงมีผลกระทาบต่อการดำเนินงานขององค์กรในอนาคตตามช่วงเวลาที่กำหนดและจัดเป็นการตัดสินใจระดับกลยุทธ์ในระยะเริ่มต้น(เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)

(3)การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ(Operational Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่าง โดยเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบกับบางส่วนขององค์กรเท่านั้นแลมีผลกระทบต่ออนาคตขององค์กรค่อนข้างน้อย (เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)

2.องค์ประกอบ

          องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการจัดการ เป็นระบบการเชื่อมโยงกันระหว่างทรัพยากรสมองของมนุษย์ให้ทำงานร่วมกันกับ ความสามารถของคอมพิวเตอร์เพื่อต้องการปรับปรุงคุณภาพของการตัดสินใจให้ดีที่สุด กล่าวคือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบหนึ่งที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือ แลการให้การสนับสนุนเพื่อให้บุคคลผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจสามารถจัดการแก้ไขปัญหากึ่งโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ(เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)นำมาใช้ดังนี้คือ

  1. การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence Phase)   เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อแยกแยะและกำหนดรายละเอียด ของปัญหาหรือโอกาสหรือ เป็นการค้นหาสาเหตุของปัญหาโดยศึกษาถึงต้นเหตุของปัญหา ประเมินผลที่เกิดขึ้นหากไม่ทำการแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมของปัญหา เพื่อสร้างแบบจำลอง ที่ใช้อธิบายละสาเหตุของปัญหาโดยอาจจะใช้การจำแนกปัญหาออก เป็นส่วนย่อย  (ณิชชา อินใจ 2553)
  2. การออกแบบ (Design Phase)   เป็นขั้นตอนของการพัฒนาและวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ รวมถึงการตรวจสอบและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา (เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ 2553)หรือออกแบบหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดหรือ เป็นขั้นตอนการสร้างและวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ โดยทางเลือกที่สร้าง(ณิชชา อินใจ 2553) ขึ้นมาจะต้องมีความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด และในขั้นตอนนี้ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจทั้งนี้สามารถพัฒนาทางเลือก (ณิชชา อินใจ 2553)
  3. การคัดเลือก (Choice Phase) ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์มากที่สุด โดยอาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ คำนวณค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนของแต่ละแนวทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้เลือกแนวทางที่ดีที่สุด หรือเป็นขั้นตอนการค้นและการประเมินทางเลือกต่างๆ ที่ได้จากการออกแบบ และการคัดเลือกให้เหลือทางเลือกทางเลือกเดียว โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการขั้นตอนนี้ คือทางเลือกเพื่อการนไปใช้จริงในการแก้ปัญหา (ณิชชา อินใจ 2553)
  4. การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติและคิดตามผลของการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ หรือมีข้อขัดข้องประการใดจะต้องแก้ไข้ หรือปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสม     (ณิชชา อินใจ 2553)

5.การติดตามติดตามผล (Monitoring Phase)การติดตามผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา หากผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุว่าเกิดขึ้นจากขั้นตอนใด หือขาดสารสนเทศส่วนใดไปบ้าง เพื่อนำไปปรับปรุงการตัดสินใจแก้ไขปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง (ณิชชา อินใจ 2553)

ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Management)

ฐานข้อมูล (Database) คือ การนำข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดเก็บไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนในองค์กรสามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้ หรือเป็นระบบที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยมีการเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับระบบสอบถามข้อมูล โยอาศัยพื้นฐานของภาษา SQL ในระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์(พัชยา บัวบาน 2555)

ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ฐานข้อมูล ในการสร้าง ปรับปรุง และเรียกใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลและผู้ใช้ เพื่อการทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ

สารบัญข้อมูล (Data Directory) คือ ส่วนที่ใช้สำหรับเก็บรายชื่อ และคำจำกัดความของข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูล เพื่อใช้ตอบคำถามต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ

ส่วนสอบถามข้อมูล (Query Facility) คือ ส่วนที่ช่วยในการสอบถามและค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขที่ต้องการ โดยส่วนสอบถามข้อมูลจะรับคำร้องขอเหล่านั้นต้องการผลลัพธ์อะไร จากนั้นทำการค้นหาข้อมูล และส่งผลลัพธ์กลับไปยังส่วนที่ร้องขอข้อมูลหรือเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ง่ายที่สุด โดยช่วยสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ(พัชยา บัวบาน 2555)

ส่วนกลั่นกรองข้อมูล (Extraction) หรืออาจเรียกว่า “ส่วนสกัดข้อมูล” คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการคัดเลือกข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำจัดเก็บลงในฐานขอมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยจะทำหน้าที่นำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มาทำการสรุปข้อมูลและคัดเลือกข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ แล้วจึงนำข้อมูลที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

3.การประยุกต์ใช้

ความสามารถของระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ และการจัดการข้อมูล โดยคุณสมบัติ หลักแล้วคือ การจัดการข้อมูลให้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพต่อการสนับสนุนการตัดสินใจของมนุษย์ได้ ความสามารถของส่วนการจัดการข้อมูลโดยสรุปมีดังนี้สามารถเรียกใช้ ข้อมูลในฐานข้อมูล ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ สามารถปรับปรุงระเบียนข้อมูล และแฟ้มข้อมูลในฐานข้อมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งข้อมูลต่างกันได้ สามารถเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  เพื่อนำมาสร้างรายงานได้มีระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลในฐานข้อมูล

สามารถนำข้อมูลทางดานการสนับสนุนการตัดสินใจ มาวิเคราะห์หรือสรุปว่า DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศ สำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยนเก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการกับข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากระบบการปฏิบัติการมาจัดระเบียบแบบแผน และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหา นอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพในการทำงาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าการปฏิบัติงานประจำวัน

ส่วนการจัดการแบบจำลอง (Model Management) เป็นส่วนที่ช่วยควบคุมการทำงานของแบบจำลอง และช่วยคัดเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจแก้ไขปัญหาลักษณะต่าง ๆ ในแบบจำลองทางด้านการเงิน ทางสถิติ วิทยาการจัดการแบบจำลองเชิงปริมาณ เป็นต้น โดยแบบจำลองที่นำมาคัดเลือกนี้ได้มากจากส่วนที่ใช้เก็บแบบจำลองไว้โดยเฉพาะ เรียกว่า “ฐานแบบจำลอง” หรือได้มากจากการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างแบบจำลองเฉพาะกิจขึ้นมาใช้งาน และความสามารถในการจัดการ วิเคราะห์ ค้นหา คัดเลือกแบบจำลองให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ขณะนั้นคือ “ระบบจัดการฐานแบบจำลอง”(พัชยา บัวบาน 2555)

จาการวิเคราะห์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบมีความสามารถในการสนับสนุนการแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน มีสนับสนุนการตัดสินใจและการจัดการเกี่ยวกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนหรือกึ่งและไม่มีโครงสร้าง และระบบสนับสนุนการตัดสินใจยังเป็นระบบที่มีการจัดการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างแบบจำลองที่สลับซับซ้อน และมีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับตัวระบบได้ด้วยตัวเอง จึงทำให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้

ระบบการสนับสนุนและการตัดสินใจและการจัดการ ทำให้เกิดแนวความคิดและองค์ความรู้ใหม่ ผู้ใช้ระบบสนับสนุนการสนับสนุนการตัดสินใจ สามารถสอบแนวความคิดใหม่ๆ ของตนเองผ่านแบบจำลอง เช่นการวิเคราะห์ปัญหาแบบ “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า” ซึ่งถ้าระบบให้การสนับสนุนให้ได้คำตอบหรือความคิดใหม่ๆ ช่วยให้สามารถฝึกฝนผู้จัดการและพนักงานที่ขาดประสบการณ์ในการตัดสินใจให้มีความรู้และประสบการการณ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการบริการ นี้นั้นเป็นอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ในการตัดสินใจแบบกลุ่มระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถอำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลทดลองสร้างแบบจำลองในการตัดสินใจ โดยใช้ผู้มีส่วนร่วมกับระบบสนับสนุนตัดสินใจในการกำหนดแบบจำลอง นอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดตัวแปร ในการปฏิบัติงานให้มีระบบนำไปใช้เป็นข้อมูลในการทดลองสร้างแบบจำลองที่ใช้ในการทำงานกลุ่ม หรือมีการประชุมเกิดขึ้น ซึ่งอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานโดยผ่านระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการจัดการเป็นแบบที่มีวัตถุประสงค์ ในการตัดสินใจที่เป็นผลมาจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจ นั้นเกิดจากการกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ทำให้มีความแน่นอนและวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดกว่าการตัดสินใจที่เป็นผลมาจากการใช้เพียงสัญชาตญาณหรือลางสังหรณ์เท่านั้น โดยการเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการจัดการ ทำให้ผู้บริหารใช้เวลาในกระบวนการตัดสินใจน้อยลงเพราะระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการจัดการ จะเป็นเครื่องมือกลั่นกรองการตัดสินใจที่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว ทำให้ผู้บริหารสามารถใช้เวลาที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์วางแผน และการนำไปปฏิบัติจริงขององค์กร ปรับปรุงความสามารถของนักวิเคราะห์ในการสรางผลงานให้ได้มากขึ้น

อ้างอิง

http://e-book.ram.edu/e-book/c/CT487/CT487-6.

http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/107/

http://www.stou.ac.th/Schools/Sst/main/eLearning/DSS/index.htm

บรรณานุกรม

KOTLER, P. 2003. Marketing Management, Eleventh Edition, PEARSON Education Indochina .

ณิชชา อินใจ (2553). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการออกแบบทัวร์เชิงวัฒนธรรมแบบเหมาจ่าย. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต วิศวกรรมซอฟแวร์.

เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ (2553). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับประเมินศักยภาพ ของการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน. บัณฑิตวิทยาลัย เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต  วิศวกรรมอุตสาหการ.

พัชยา บัวบาน (2555). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการกู้ยืม เพื่อการศึกษาของโรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยาการคอมพิวเตอร์.

Leave a comment